Differences between revisions 1 and 2
Revision 1 as of 2008-11-19 12:55:17
Size: 13961
Comment: Translate TutorialFirstChange to Thai
Revision 2 as of 2008-11-19 15:42:53
Size: 13965
Comment: Changed tutorial index link to Thai index
Deletions are marked like this. Additions are marked like this.
Line 3: Line 3:
''(หน้านี้เป็นหน้าที่ 4 จาก 9 ของ[:Tutorial:บทเรียน]การใช้งาน Mercurial หน้าก่อนหน้าคือ [:ThaiTutorialHistory], หน้าถัดไปคือ [:ThaiTutorialShareChange])'' ''(หน้านี้เป็นหน้าที่ 4 จาก 9 ของ[:ThaiTutorial:บทเรียน]การใช้งาน Mercurial หน้าก่อนหน้าคือ [:ThaiTutorialHistory], หน้าถัดไปคือ [:ThaiTutorialShareChange])''

บทเรียน - ทำการแก้ไขแรก

(หน้านี้เป็นหน้าที่ 4 จาก 9 ของ[:ThaiTutorial:บทเรียน]การใช้งาน Mercurial หน้าก่อนหน้าคือ [:ThaiTutorialHistory], หน้าถัดไปคือ [:ThaiTutorialShareChange])

ต่อจาก ThaiTutorialHistory ตอนนี้เราอยู่ใน my-hello repository ที่เราทำสำเนามาตอน ThaiTutorialClone.

วิธีการใช้ Mercurial สำหรับพัฒนาโปรแกรมที่ดีก็คือการแยกการแก้ไขที่เกี่ยวข้องกันออกมาเป็น [:Repository:repository] ต่างหาก (ดู [:WorkingPractices]) การทำแบบนี้จะช่วยให้การแก้ไขเรื่องต่างๆกันไม่มาปนกันอยู่ใน repository เดียวและทำให้ง่ายต่อการทดสอบ เรามาลองเริ่มแก้ไขโดยใช้วิธีนี้กันดู

จุดประสงค์(อันยิ่งใหญ่)ของเราก็คือ...ให้โปรแกรม "hello, world" เราพิมพ์ผลลัพธ์เพิ่มอีกบรรทัดนึง ก่อนอื่นให้เราสร้าง repository ใหม่ชื่อ my-hello-new-output โดย[:Clone:ทำสำเนา]จาก my-hello (ผลลัพธ์ที่แสดงมาจาก Mercurial 1.0):

$ hg clone my-hello my-hello-new-output
updating working directory
2 files updated, 0 files merged, 0 files removed, 0 files unresolved

สังเกตุว่าเราได้ตั้งชื่อสำหรับ repository ใหม่ด้วยชื่อที่สื่อความหมายเพื่อบ่งบอกว่าเราจะใช้ repository ใหม่นี้เพื่ออะไร เนื่องจากว่าการทำสำเนาใน Mercurial นั้นง่ายมากเราอาจจะทำสำเนา repository ต่างๆมากมายระหว่างการทำงาน ถ้าเราไม่ตั้งชื่อ repository เหล่านี้ให้ดี เราอาจจะลืมได้ว่า repository แต่ละอันมีไว้เพื่ออะไร (ดู RepositoryNaming)

โอเค ถึงเวลาที่เราจะทำการแก้ไขใน repository ใหม่ล่ะ เข้าไปใน[:WorkingDirectory:ไดเร็คทอรี่ทำงาน] (working directory) ของ repository ซึ่งเป็นชื่อเรียกสั้นๆสำหรับไดเร็คทอรี่ที่มีไฟล์อยู่นั่นแหละ จากนั้นก็แก้ไขซอร์สโค้ดด้วย text editor ตัวโปรดของคุณ:

$ cd my-hello-new-output
$ vi hello.c

เนื้อหาเริ่มต้นของ hello.c เป็นแบบนี้:

/*
 * hello.c
 *
 * Placed in the public domain by Bryan O'Sullivan
 *
 * This program is not covered by patents in the United States or other
 * countries.
 */

#include <stdio.h>

int main(int argc, char **argv)
{
        printf("hello, world!\n");
        return 0;
}

เรามาแก้ main ให้พิมพ์ข้อความอีกบรรทัดนึงกันเถอะ:

(...)

int main(int argc, char **argv)
{
        printf("hello, world!\n");
        printf("sure am glad I'm using Mercurial!\n");
        return 0;
}

หลังจากแก้ไขเสร็จก็ออกจาก editor ของเราก็เรียบร้อย เราพร้อมที่จะสร้าง [:ChangeSet:changeset] ใหม่แล้ว

แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเกิดมีคนมาขัดจังหวะแล้วเราดันลืมไปว่าอะไรบ้างที่ถูกแก้ไขที่จะอยู่ใน changeset ล่ะ? คำตอบอยู่ในคำสั่ง status

$ hg status
M hello.c

ผลลัพธ์จากคำสั่งนั้นสั้นๆ ตัวอักษร M บอกเราว่าไฟล์ hello.c ได้ถูกแก้ไข (modified) และการแก้ไขนี้ก็พร้อมที่จะเข้าไปอยู่ใน changeset แล้ว

ถ้าคุณขี้เกียจพิมพ์คำสั่งยาวๆแบบ hg status ก็สามารถใช้คำสั่งสั้นๆ hg st แทนเพราะ Mercurial อนุญาติให้เราย่อคำสั่งได้ถ้าคำสั่งที่ย่อลงนั้นไม่กำกวมเวลา Mercurial แปลความหมาย

$ hg st
M hello.c

หรือเราอาจจะอยากดูเนื้อหาที่ถูกแก้ไขโดยใช้คำสั่ง diff:

$ hg diff
diff -r 82e55d328c8c hello.c
--- a/hello.c   Fri Aug 26 01:21:28 2005 -0700
+++ b/hello.c   Mon May 05 00:27:56 2008 +0200
@@ -12,5 +12,6 @@
 int main(int argc, char **argv)
 {
        printf("hello, world!\n");
+       printf("sure am glad I'm using Mercurial!\n");
        return 0;
 }

<!> ในกรณีที่เราอยากยกเลิกสิ่งที่เราแก้ไขและเริ่มต้นใหม่ เราสามารถใช้คำสั่ง revert เพื่อดึงไฟล์ hello.c ก่อนที่จะถูกแก้ไขกลับมาได้ (หรือจะใช้ตัวเลือก --all เพื่อดึงเวอร์ชั่นก่อนแก้ไขของทุกๆไฟล์กลับมา) เช็คให้แน่ใจก่อนล่ะว่านี่เป็นสิ่งที่คุณอยากทำจริงๆ (ดู [:Revert]).

$ hg revert hello.c

revert เปลี่ยนชื่อไฟล์ที่ถูกแก้ไขจาก hello.c เป็น hello.c.orig และกู้ไฟล์ hello.c ก่อนที่จะถูกแก้ไขกลับมาแทน

หลังการยกเลิกการแก้ไข คำสั่ง status ก็แสดงสถานะของไฟล์ hello.c.orig ว่าเป็นไฟล์ที่ไม่ถูกติดตามโดย Mercurial ล่ะ (นำหน้าด้วยเครื่องหมาย "?").

$ hg st
? hello.c.orig

ถ้าเราเกิดเปลี่ยนใจและอยากใช้ไฟล์ที่เราเพิ่งแก้ไป ก็แค่ลบไฟล์ hello.c ทิ้งและเปลี่ยนชื่อไฟล์ hello.c.orig เป็น hello.c เท่านี้ก็เรียบร้อย

$ rm hello.c
$ mv hello.c.orig hello.c
$ hg st
M hello.c

การสร้าง changeset มีชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่าการ [:Commit:คอมมิท] changeset เราทำการคอมมิทโดยใช้คำสั่ง commit คำสั่ง commit นี้มีชื่อย่อสั้นๆว่า: ci ("check in"), เพราะงั้นเราสามารถใช้คำสั่งแบบย่อนี้ได้:

$ hg ci

คำสั่งนี้จะเปิด editor ขึ้นมาพร้อมกับบรรทัดแปลกๆสองสามบรรทัด

หมายเหตุ: editor ที่ Mercurial ใช้โดยปกติคือ vi แต่เราสามารถเปลี่ยนค่าได้โดยเซ็ตตัวแปร environment ที่ชื่อ EDITOR หรือ [:HGEDITOR]

HG: Enter commit message.  Lines beginning with 'HG:' are removed.
HG: --
HG: user: mpm@selenic.com
HG: branch 'default'
HG: changed hello.c

บรรทัดแรกของ editor จะเป็นบรรทัดว่างๆ ไว้ให้เราใส่คำอธิบายของ changeset นี้ ส่วนบรรทัดต่อๆไปก็จะบอกชื่อผู้ใช้ ชื่อ branch และไฟล์ต่างๆที่อยู่ใน changeset นี้

ปกติชื่อของ branch คือ "default" (ดู NamedBranches) Mercurial เอาค่า "user" มาจากไฟล์การตั้งค่า ~/.hgrc ภายใต้ค่าที่ชื่อ "username" ของส่วน "ui" (ดู [http://www.selenic.com/mercurial/hgrc.5.html#ui hgrc(5)]) แต่เราก็สามารถระบุชื่อผู้ใช้ของเราเองได้โดยใช้ตัวเลือก -u (ดู hg help ci หรือ [http://www.selenic.com/mercurial/hg.1.html#commit hg.1.html#commit])

เพื่อที่จะคอมมิท changeset เราจะต้องใส่คำอธิบาย (ดู [:ChangeSetComments]) ลองพิมพ์อะไรประมาณนี้ดู:

Express great joy at existence of Mercurial
HG: Enter commit message.  Lines beginning with 'HG:' are removed.
HG: --
HG: user: mpm@selenic.com
HG: branch 'default'
HG: changed hello.c

หลังจากใส่คำอธิบายเราก็บันทึกและปิด editor ซะและถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดีคำสั่ง commit จะจบการทำงานโดยไม่พิพม์ผลลัพธ์ใดๆออกมา

<!> ถ้าคุณออกจาก editor โดยที่ไม่ได้บันทึกหรือไม่ได้พิมพ์คำอธิบายใดๆ คำสั่ง commit จะยกเลิกการคอมมิทนั้น ทั้งนี้เพื่อให้คุณสามารถเปลี่ยนใจไม่คอมมิทการแก้ไขของคุณได้

ทีนี้ลองมาดูว่าหลังจากคอมมิทคำสั่ง status จะบอกอะไรกับเรานะ?

$ hg st

ไม่มีอะไรเลย! สิ่งที่เราแก้ไขได้ถูกคอมมิทเป็น changeset แล้วเพราะฉะนั้นจึงไม่มีไฟล์ใดๆที่ถูกแก้และยังไม่ได้ถูกคอมมิท และ[:Tip:ปลาย] repository ของเราก็ตรงกับไดเร็คทอรี่ทำงานด้วย

นอกจากนั้นคำสั่ง [:Parent:parents] บอกกับเราว่าไดเร็คทอรี่ทำงานของ repository เราตรงกับ changeset ที่ถูกคอมมิทล่าสุดแล้ว (ดู [:Update]) ด้วย (ในที่นี้เรามีแค่บรรพบุรุษอันเดียว ซึ่งก็เป็นกรณีปกติหลังจากคอมมิท เราจะเห็นบรรพบุรุษสองอันใน ThaiTutorialMerge):

$ hg par
changeset:   2:86794f718fb1
tag:         tip
user:        mpm@selenic.com
date:        Mon May 05 01:20:46 2008 +0200
summary:     Express great joy at existence of Mercurial

เท่านี้ล่ะ! เราได้คอมมิท changeset ใหม่เข้าไปใน repository เรียบร้อยแล้ว

เราสามารถดูประวัติการแก้ไขของเราได้:

$ hg log
changeset:   2:86794f718fb1
tag:         tip
user:        mpm@selenic.com
date:        Mon May 05 01:20:46 2008 +0200
summary:     Express great joy at existence of Mercurial

(...)

หมายเหตุ: ชื่อผู้ใช้, วันที่, และ [:ChangeSetID:changeset ID] อาจต่างกันไปได้จากที่คุณทดลอง

จากที่เราได้เรียนใน [:ThaiTutorialClone] changeset ใหม่นี้จะอยู่แค่ใน repository นี้เท่านั้น ข้อเท็จจริงนี้นี้เป็นส่วนสำคัญมากในการเข้าใจการทำงานของ Mercurial

ถ้าเราต้องการแบ่งปันการแก้ไขนี้ เราจะต้องอ่านต่อที่ ThaiTutorialShareChange


CategoryTutorial

ThaiTutorialFirstChange (last edited 2009-05-19 19:31:05 by localhost)